
ปลาหมึกเป็นสัตว์น้ำจำพวกหอย บางชนิดเป็นสัตว์หน้าดินบางชนิดเป็นสัตว์ที่หากินกลางน้ำ ปลาหมึกที่รับประทานได้มีหลายชนิด เช่น หมึกกล้วย (squid, Loligo formosana) หมึกกระดอง (squid , Loligo formosana) หมึกกระดอง (rainbow cuttle fish , Sepia pharaonis) หมึกหอม ( soft cuttle fish , Sepioteuthis lessoniana ) หมึกสาย
(Octopus spp.)
ปลาหมึกเป็นสัตว์นํ้าที่มีระบบรับความรู้สึกและระบบประสาทที่ค่อนข้าง สมบูรณ์ จึงเป็นที่สนใจของนักวทยาศาสตร์ สาขาสรีระวิทยา โดยเฉพาะหมึกสาย (Octopus ) เป็นสัตว์ทดลองที่ถูกซื้อเพื่อนำมาทดลองในห้องปฏิบัติการมากที่สุดในต่างประเทศ แต่เดิมชาวประมงเชื่อว่า ปลาหมึกเป็นสัตว์นํ้าที่เลี้ยงยาก เพราะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพนํ้าต่างๆ เช่น อุณหภูมิ พีเอช ความขุ่น ออกซิเจนที่ละลายในนํ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาหมึกนั้นเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายถ้าเลี้ยงในระบบปิด เพียงแต่อาหารเท่านั้นที่เป็นปัญหาในการเลี้ยง เพราะปลาหมึกส่วนใหญ่กินอาหารที่เคลี่อนไหว ยกเว้นหมึกกระดองที่สามารถฝึกให้กินปลาและกุ้งตายที่แช่แข็งได้
หมึกสายชนิด Octopus joubini เป็นหมึกขนาดเล็ก เมื่อนำมาเลี้ยงในห้อง ปฏิบัติการจะเติบโตเร็วมาก และสืบพันธุ์ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วถึงปีละ 2 ครั้ง แม้ว่าในธรรมชาติมันจะสืบพันธุ์ปีละครั้งเดียวเท่านั้น อุณหภุมที่เหมาะสมในถังเลี้ยงปลาหมึก ประมาณ 25 องศาเซลเซียส ภายในถังจะต้องบรรจุเปลือกหอย และท่อต่างๆ ทำเป็นร่มเงาให้มันเข้าไปหลบซ่อนตัว ถ้าเลี้ยงปลาหมึก 2 เพศรวมกัน มันจะสืบพันธุ์ในตอนกลางคืน ตัวเมียจะวางไข่ที่ผสมแล้วเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ แล้วจะคอยเฝ้าดูแลไข่ โดยไม่ยอมกินอาหารจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ซึ่งกินเวลาประมาณ 30-40 วัน ลูกปลาหมึกที่ฟักออกเป็นตัวแล้วจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่เพียงแต่ตัวเล็กกว่า ควรให้อาหารทันที อาหารที่ให้ควรเป็นพวกลูกกุ้ง ลูกปลาตัวเล็กๆ
Octopus bimaculoides เป็นปลาหมึกสายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถนำ มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้ง่ายเช่นกันที่อุณหภูมิประมาณ 23°เซลเซียส อาหารที่ใช้เลี้ยงคือ ลูกกุ้ง ลูกไร มันจะเจริญเติบโตเร็วมากจากนํ้าหนักตัว 0.07 กรัม สามารถเลี้ยงให้โตถึง 0.6 กิโลกรัมได้ภายในเวลา 370 วัน
ปัญหาสำคัญในการเลี้ยงก็คือถ้าสามารถฝึกปลาหมึกสายพวกนี้ให้กินอาหารเม็ดหรืออาหารเนื้อสัตว์ที่หั่นเป็นชิ้นๆ หรือเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วได้การเลี้ยงปลาหมึกคงจะพัฒนาไปไกลกว่านี้
ปัญหาสำคัญในการเลี้ยงก็คือถ้าสามารถฝึกปลาหมึกสายพวกนี้ให้กินอาหารเม็ดหรืออาหารเนื้อสัตว์ที่หั่นเป็นชิ้นๆ หรือเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วได้การเลี้ยงปลาหมึกคงจะพัฒนาไปไกลกว่านี้
การเลี้ยงหมึกกล้วย Loligo opalescens เริ่มด้วยการจับปลาหมึกที่มีคุณ ภาพดี ไม่มีรอยบาดเจ็บจากการจับมาเลี้ยงในถังนํ้าทะเลขนาดใหญ่หรือเลี้ยงในคอกที่อุณหภูมิ 12-20 องศาเซลเซียส ความเค็มประมาณ 35 ส่วนในพัน พีเอช 8 อาหารที่เลี้ยง ได้แก่ ลูกกุ้งและปลาที่ตัวเล็กกว่า ภายในเวลา 7 เดือนก็สามารถสืบพันธุ์ได้ เมื่อถึงเวลาสืบพันธุ์ควรแยกพ่อแม่พันธุ์ออกจากฝูงไปอยู่ต่างหากและให้แยกไข่ไปเลี้ยงไว้ในตะกร้าอนุบาลที่ลอยในถังนํ้าทะเล กินเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส เมื่อไข่ฟักเป็นตัวลูกปลาหมึกจะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า อัตราตายของลูกปลาหมึกจะมีมากตอนที่ถุงไข่แดงยุบและเริ่มจับอาหารกิน ควรให้อาหารพวกลูกกุ้ง ลูกไร ปัญหาก็คือลูกปลาหมึกจะเลือกอาหารและไม่กินอาร์ทีเมียซึ่งเป็นอาหารที่หาง่าย หมึกหอมที่ทดลองเลี้ยงในสถานทดลองสามารถโตได้ถึง 2.2 กิโลกรัม ภายในเวลา 4 1/2 เดือนเท่านั้น นับว่าเติบโตเร็วกว่าในสภาพธรรมชาติมาก
ประเทศญี่ปุ่นใช้ “ซั้ง” เพื่อล่อปลาหมึกให้มาวางไข่ครั้งละมากๆ ซั้งคือ อุปกรณ์ที่ล่อให้ปลามาหลบอาศัยหรือวางไข่ ซึ่งชาวฟิลลิปปินส์เรียกว่า “ปาเยา” (Payao) ชาวญี่ปุ่นนิยมนำต้นซุยเบะที่ตัดกิ่งมามัดรวมกันถ่วงด้วยก้อนหินไปทิ้งไว้ในทะเลที่มีระดับความลึก 7-10 เมตร ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วันจะเริ่มมีปลาหมึกมาวางไข่
ซั้งในประเทศไทยที่ใช้ล่อปลาหมึกจะประกอบด้วยทุ่นไม้ไผ่ เชือกไนลอน ก้อนหิน มีทางมะพร้าวผูกติดกับเชือกห่างกันเป็นระยะๆ ที่ระดับความลึก 20-25 เมตร จากการสอบถามชาวประมงที่ใช้ซั้งล่อปลาหมึกให้มาวางไข่ ผลปรากฏว่า ปลาหมึกหอมชอบวางไข่ตามเชือกสายทุ่นตั้งแต่ระดับความลึก 1.5 เมตร ลงไปจนถึงก้อนหินก้นทะเลและบริเวณก้อนหินก้นทะเลนี้จะมีปลาหมึกกระดองชอบมาวางไข่
อ้างอิง www.เลี้ยงสัตว์.com/การเลี้ยงปลาหมึก/www.เลี้ยงสัตว์.com/การเลี้ยงปลาหมึก/